วันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2553

รวมเพลงกาสะลอง


 สัญญากาสะลอง
(พลพล ชุดที่ 5 พลพล คนกันเอง)

กาสะลอง
(ลานนา คัมมินส์)

กาสะลองกลับบ้าน
(ไม้เมือง ชุด เก็บรักไว้ที่ปลายรุ้ง)

วันอาทิตย์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2553

มารู้จักต้นกาสะลองกันนะครับ

กาสะลอง และกาสะลองคำ เป็นต้นไม้ในวงศ์ BIGNONIACEAE เหมือนกัน แต่คนละสกุล (Genus) กันนะครับ ต้นกาสะลอง ดอกสีขาว เป็นช่อ  ส่วนกาสะลองคำ มีดอกตามลำต้นและกิ่ง แสะมีสีส้ม
ต้นกาสะลอง (หรือต้นปีบ) เป็นต้นไม้ที่รู้จักกันดีทางภาคเหนือ เป็นไม้ประจำจังหวัดพิษณุโลก ต้นกาสะลองมีดอกสีขาวอันเป็นสัญลักษณ์แห่งความบริสุทธิ์และคุณงามความดี ดอกมีกลิ่นหอมเปรียบประดุจชื่อเสียงและเกียรติคุณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้ใช้ต้นไม้ชนิดนี้ เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัย จากการที่ต้นกาสะลองมีลำต้นที่แข็งแรงสูงโปร่ง มีช่อดอกสีขาวบานสะพรั่งโน้มลงมา เปรียบเสมือนคุณลักษณะของบัณฑิตที่ถึงพร้อมด้วยคุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ความเชี่ยวชาญ ที่จะไปพัฒนาสังคมและประเทศชาติให้มีความเจริญรุ่งเรืองอย่างยั่งยืนต่อไป





กาสะลอง (ปีป)ชื่อวิทยาศาสตร์ Millingtonai hortensis L.f. วงศ์ BIGNONIACEAE
ชื่อสามัญ Cork Tree สกุล Millingtonia L.f.
ชื่อพื้นเมือง กาดสะลอง(ภาคเหนือ) เต็กตองโพ่ (กะเหรี่ยงกาญจนบุรี) กาซะลอง เต็กตองโพ่ (กะเหรี่ยง กาญจนบุรี) ปีบ

ในประเทศไทย พบขึ้นกระจัดกระจายอยู่ห่าง ๆ กัน ตามป่าเบญจพรรณที่ค่อนข้างแห้งแล้งทั่วไปทางภาคเหนือ ภาคตะวันตกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในต่างประเทศ พบที่ พม่า

ลักษณะทั่วไป

เป็นต้นไม้ขนาดกลาง สูง 25 ม. ผลัดใบ เรือนยอด เป็นพุ่มกลมยาวแน่นทึบด้วยใบสีเขียวเข้ม กิ่งก้านมักห้อยลง เปลือกนอก สีเทาเข้มถึงน้ำตาลอ่อน แตกเป็นร่องตามยาว ไม่เป็นระเบียบ มีลักษณะอ่อนนุ่ม คล้ายจุกไม้คอร์ด เปลือกใน สีเหลืองอ่อน
ใบ เป็นช่อแบบทวีผล 2 - 3 ชั้น ใบย่อยรูปไข่ หรือรูปไข่แกมรูปหอก ขนาด 2 - 3 x 4 - 8 ซม. ปลายแหลม ขอบหยักมนหรือเว้าเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบย่อยเป็นใบคี่ จำนวน 1 - 5 ใบ ออกตรงกันข้าม ใบอ่อน มักจะมีขนอ่อนนุ่ม ปกคลุมที่บริเวณท้องใบ


ดอก ออกเป็นช่อแยกแขนงที่ปลายกิ่ง แตกกิ่งก้านแผ่กว้าง ขนาดประมาณ 15 x 25 ซม. ตัวดอกห้อยลง กลีบรองกลีบดอกเด็กมากมีความยาวเพียง 2 - 3 มม. กลีบดอกเป็นหลอด ยาวประมาณ 6 ซม. ดอก สีขาว มีกลิ่นหอม เกสรผู้ชูอับเรณูยื่นออกมาจากปากท่อกลีบดอกเล็กน้อย
ผล เป็นฝักแบน ตรง หัวแหลมท้ายแหลม ขนาด 2 x 30 ซม. เมล็ด แบน มีปีกบาง ๆ ขนาดรวมทั้งปีกประมาณ 1.3 x 2.5 ซม. ผลแก่ สีน้ำตาล มีเมล็ดจำนวนมาก ขนาดรวมทั้งปีกประมาณ 1.3 x 2.3 ซม. ฝักแก่ไม่แตก ระยะเวลาในการออกดอกและเป็นผล ออกดอกระหว่างเดือนกันยายน-พฤศจิกายน ฝักจะแก่เต็มที่ประมาณเดือน มกราคม-กุมภาพันธ์

การขยายพันธุ์ นิยมเพาะกล้าจากเมล็ด ปักจำก็ได้แต่ไม่นิยม

การใช้ประโยชน์
ด้านเนื้อไม้แปรรูป นิยมใช้ทำหีบใส่ของ กระดาน เครื่องเรือน

ด้านสมุนไพร ส่วนที่ใช้เป็นสมุนไพรและสรรพคุณ คือ
ราก รักษาวัณโรค บำรุงปอด แก้ปอดพิการ แก้ไอ
ดอก แก้ริดสีดวงจมูก แก้หืด ขับน้ำดี บำรุงกำลัง บำรุงเลือด บำรงุน้ำดี แก้ลมสวิงสวาย ขับปัสสาวะ ยับยั้งการเจริญเติบโตของพืช ยับยั้งการงอกของพืช ต้านฮิสตามีน คลายกล้ามเนื้อเรียบ ขยายหลอดลม ยับยั้งเชื้อรา ยับยั้ง HIV-1 reverse transcriptase ยับยั้งเอนไซม์ 5-lipoxygenase เป็นพิษต่อเซลล์

ด้านการเป็นไม้ประดับ ความน่าสนใจของไม้ต้นนี้คือ รูปทรงต้นเป็นรูปกลมยาว หนาทึบด้วยใบสีเขียวเข้ม ใบมีลีลาพลิ้วไปกับสายลมได้สวยงามและดูอ่อนไหว กิ่งก้านลู่ลงสู่ดิน มีดอกสีขาวเต็มต้นส่งกลิ่นหอมกระจายไปไกล ให้ร่มเงาได้ดี นิยมปลูกเป็นไม้ประดับประเภทดอกหอม ใช้ปลูกเป็นไม้ประธานการจัดสวนหรือให้ร่มเงาและปรุงเสน่ห์ด้วยกลิ่นหอมในป่าอนุรักษ์ได้ดี

การเป็นมงคล

คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นปีปไว้ประจำบ้านจะทำให้เก็บเงินเก็บทองได้มาก เพราะ ปีป คือ ภาชนะที่ใช้ในการบรรจุของ ดังนั้นคนไทยโบราณเรียกภาชนะใส่ของที่มีค่าว่า ปีปเงิน ปีปทอง นอกจากนี้ยังเชื่ออีกว่าสามารถทำให้มีชื่อเสียงโด่งดัง เพราะปีปมีลักษณะแข็งและโปร่ง เวลาเคาะหรือตีจะเกิดเสียงดังไปไกล


เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นปีปไว้ทางทิศตะวันตก ผู้ปลูกควรปลูกในวันเสาร์ เพราะโบราณเชื่อว่า การปลูกไม้เพื่อเอาคุณ ทั่วไปให้ปลูกในวันเสาร์ ถ้าจะให้เป็นมงคลมากยิ่งขึ้น ผู้ปลูกควรเป็นผู้ที่เกิดในวันจันทร์ เพราะ ปีปเป็นดอกไม้ประจำของนางโคราคเทวี ซึ่งเป็นนางประจำวันจันทร์ในธิดาของพระอินทร์

นอกจากนี้ถ้าหากผู้อาศัยในบ้าน เกิดในวันจันทร์ด้วยแล้วก็จะเป็นศิริมงคลมากยิ่งขึ้น

วิธีการปลูก ขนาดหลุมปลูก 50 x 50 x 50 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วนอัตรา 1:2 ผสมดินปลูก ถ้าปลูกประดับบ้านเรือนหรืออาคารควรปลูกให้มีระยะห่างที่เหมาะสม เพราะปีปเป็นไม้ที่มีทรงพุ่มใหญ่พอสมควร
การดูแลรักษา แสง ต้องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง น้ำ ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ควรให้น้ำ 5-7 วัน/ครั้ง ดิน ชอบดินร่วนซุย ปุ๋ย ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1: 3 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 4-5 ครั้ง
โรคและศัตรู ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรคและศัตรู เพราะมีความทนทานสภาพธรรมชาติได้ดี


กาซะลองคำ (ปีปทอง) Tree jasmine
ชื่อวิทยาศาสตร์:Radermachera ignea (Kurz) Steenis วงศ์ :
ชื่อสามัญ: Tree Jasmine
ชื่อพื้นเมือง : กากี (สุราษฎ์ธานี) แคะเป๊าะ สำเภาหลามต้น (ลำปาง)จางจืด (เชียงใหม่) สำเภา อ้อยช้าง (ภาคเหนือ) ปีปทอง (ภาคกลาง)

สถานที่พบ ขึ้นตามธรรมชาติบนเทือกเขาหินปูนที่ค่อนข้างชื้นทางภาคเหนือ เติบโต เร็ว สามารถขึ้นได้ในดินทั่วไปที่มีความชื้นปานกลาง เป็นไม้ชอบแดด สามารถอยู่กลางแดดได้ดี ฤดูที่ดอกบาน มกราคม-เมษายน ผลัดใบก่อนออกดอก

ลักษณะทั่วไป
คลิ๊กที่ภาพดอกปีปทองเพื่อดูวีดีโอต้นปีปทอง

ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ผลัดใบสูง 6-20 เมตร เรือนยอดแผ่เป็นชั้น ลำต้นเปล้าตรง เปลือกสีเทา แตกสะเก็ดเล็กน้อย มีช่องอากาศขนาดใหญ่ทั่วไป
ใบ (Foliage) : ใบประกอบแบบขนนก 2-3 ชั้น เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ยาว 20-60 เซนติเมตร ใบย่อย3-5 คู่ ใบรูปรีหรือรูปหอก กว้าง 2-4.6 เซนติเมตร ยาว 5-12 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบเบี้ยว ขอบใบเรียบ แผ่นใบบาง ผิวใบด้านบนเรียบเป็นมันสีเขียว
ดอก สีเหลืองอมส้มหรือสีส้ม ออกเป็นกระจุกตามกิ่งตามลำต้น กระจุกละ 5-10 ดอก ทยอยบานกลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอด ยาว 4.5-7 ซม. ปลายเป็นแฉกสั้นๆ 5 แฉก เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5-2 ซม. เกสรตัวผู้ 4 อัน
ผล ผลแห้งแตก ทรงกระบอกยาวเรียว 30-90 เซนติเมตร ผลแก่บิดเวียน และแตกเป็น 2 ซีก เมล็ดแบน มีปีกแคบยาว มีจำนวนมาก

การขยายพันธุ์
เมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำและหน่อ

เครดิต

วันเสาร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2553

แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวใกล้ๆ_วนอุทยานท้าวโกษา (เขากระโหลก)

ช่วงเวลาเย็นๆ คุณสามารถขับรถไปหาทานอาหารทะเลสดๆได้ตามร้านอาหารริมหาดที่มีมากมายหลายสไตล์ บนเส้นทางเลาะเลียบริมทะเล โดยออกจากกาสะลองบีชรีสอร์ท เลี้ยวซ้ายเลาะถนนริมชายหาดไปทาง วนอุทานท้าวโกษา หรือเขากระโหลกที่เลื่องชื่อของชาวปราณบุรี ซึ่งอยู่ห่างเพียง 10-20 นาที เท่านั้น




ชมรายละเอียดและจองที่พักของอุทยาน คลิ๊ก  วนอุทยานท้าวโกษา (เขากระโหลก)



อัลบัมภาพการสะลองบีชรีสอร์ท



 



  







สุขภัณฑ์



ลานหน้าบ้านพัก

 


ศาลาอเนกประสงค์

 

ชายทะเลที่แสนสงบ


แนะนำที่เที่ยวใกล้ๆครับ ศูนย์การศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินี

               ศูนย์การศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินีนี้ เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ในระบบนิเวศป่าชายเลนสาธารณที่ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าเยี่ยมชมได้ นอกจากนี้ชุมชนและเยาวชนในพื้นที่จะได้รับประโยชน์จากการเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ในระบบนิเวศป่าชายเลนสาธารณะที่ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าเยี่ยมชมได้ นอกจากนี้ ยังเป็นสถานที่อนุบาลสัตว์น้ำ เช่น ปู กุ้ง หอย









เส้นทางเดินทางสู่กาสะลองบีชรีสอร์ท

เมื่อท่านมาถึงปราณบุรีแล้ว ลองศึกษาเส้นทางดูนะครับ คิดว่าภาพถ่ายทางอากาศของ PiontAsia.com คงพอช่วยท่านได้ไม่มากก็น้อย หรือท่านจะเริ่มที่เขากระโหลก ที่คนในพื้นที่ปราณบุรีรู้จักดี แล้วขับรถย้อนขึ้นมาทางเหนือ ตามถนนริมทะเล เพียง 10-20 นาทีเท่านั้นครับ 





ภาพแผนที่ดัดแปลงจากภาพในเวป thaiwaysmagazine.com

กาสะลองบีชรีสอร์ท อยู่ระหว่าง  อิ่มสุขรีสอร์ท  กับ  สวิสบีชรีสอร์ท  ครับ

ส่วนภาพต้นฉบับ ก็ที่นี่ครับ
 http://www.thaiwaysmagazine.com/hua_hin_map/map_pran_buri.html

ถ้าเห็นป้ายนี้ ก็ใช่เลย

ชายหาดยามเย็นที่แสนสงบ

        ชายหาดบริเวณนี้ ดูไม่กว้างขวาง แต่ทำให้ไม่มีนักท่องเที่ยวพลุกพล่าน ทำให้การมาพักผ่อน มีความเป็นส่วนตัว เป็นการพักผ่อนที่ได้ผ่อนคลายอย่างแท้จริง

มุมหนึ่งจากชั้นบนของบ้านพักตากอากาศ

ชายหาดยามน้ำลง ที่แสนสงบ

ครอบครัวได้สนุกสนานร่วมกันอบ่างเป็นส่วนตัว


 

ยามเย็นที่แสนสุข